โดย ดร. นพ. ศุภชัย เอกวัฒนกิจ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โลหิตวิทยา
เซลล์บำบัดหรือ Cellular therapy เริ่มมีใช้ทางการแพทย์มาตั้งแต่เมื่อ 200 ปีก่อนโดยการให้เลือด ในประเทศไทยเริ่มมีในปี 2470 การปลูกถ่ายไขกระดูกด้วยเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเริ่มมีในโลกครั้งแรกปี 2482 ในประเทศไทยเริ่มทำครั้งแรกในปี 2529
สำหรับสเต็มเซลล์ชนิด Mesenchymal Stem Cells เริ่มมีการศึกษาอย่างแพร่หลายในช่วงหลังปีพุทธศักราช 2000 เป็นช่วงที่นักวิจัยทั่วโลกเริ่มให้การยอมรับและมีการวิจัยเกิดขึ้นมากมาย
จากรูปจะเห็นได้ว่าหากเราค้นการศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Mesenchymal Stem Cells ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในมนุษย์ พบว่ามีงานวิจัยมากกว่า 1,000 งานวิจัยในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา
สำหรับประเทศไทยนั้นการนำ Mesenchymal Stem Cells มาใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม ยังมีข้อจำกัดและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่มาก
Stem Cells ไม่สามารถที่จะใช้รักษาได้ทุกโรค การรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบันเราเป็นการรักษาที่อ้างอิงตามหลักฐานประจักษ์ที่เรียกว่า Evidence based medicine คือต้องเริ่มจากการศึกษาในหลอดทดลองหรือในสัตว์ทดลองที่เรียกว่า Preclinical Study หากได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจและไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง จึงนำมาศึกษาต่อก่อนที่จะนำมาใช้จริง
ตัวอย่างในโรคข้อเข่าเสื่อม เราจะเห็นได้ว่ามีการศึกษาจำนวนมากในสัตว์ทดลองชนิดต่างๆไม่ว่าจะเป็นหมู ม้า กระต่าย วัว เมื่อได้ผลเป็นที่น่าพอใจไม่พบผลข้างเคียงก็นำมาศึกษาต่อในมนุษย์ แล้วนำมาสู่การใช้รักษาในปัจจุบัน
ปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ Mesenchymal Stem Cells ยังมีจำกัด เนื่องด้วยยังเป็นเรื่องใหม่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กลุ่มโรคที่นำมาศึกษาก็มักจะเป็นกลุ่มโรคที่ยังไม่มีการรักษาที่ได้ผลดีหรือเป็นโรคเรื้อรังที่ยังไม่หายขาด
댓글