เบาหวานเป็นโรคที่ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด คนเป็นเบาหวานชนิดรุนแรงต้องใช้อินซูลินในการฉีดรักษา การรักษาด้วย Mesenchymal Stem Cells มีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร?
โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก
เบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งพบในผู้ป่วยอายุน้อยมักมีอายุน้อยกว่า 30 ปี เป็นผู้ป่วยที่มีความสามารถการผลิตอินซูลินจากตับอ่อนลดลงหรือไม่มีเลย ทำให้ต้องรักษาโดยการฉีดอินซูลินเป็นหลัก
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดมากกว่า 95% พบในผู้ป่วยผู้ใหญ่มักเป็นผู้ป่วยที่มีลักษณะรูปร่างอ้วน การรักษามีตั้งแต่ให้ยากินและการฉีดยาอินซูลินในกรณีที่เป็นโรครุนแรง
เบาหวานกลุ่มสุดท้ายคือโรคเบาหวานที่พบขณะตั้งครรภ์ ภาวะนี้อาจจะเป็นเพียงชั่วคราวหรือบางคนเมื่อคลอดลูกแล้วก็เป็นโรคเบาหวานระยะยาวได้
งานวิจัยในเบาหวานประเภทที่ 1
งานวิจัยจากประเทศจีนตีพิมพ์การศึกษาในปี 2013 กลุ่มประชากรที่นำมาศึกษาคือคนไข้เบาหวานชนิดที่ 1 ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปีโดยอายุเฉลี่ยในงานวิจัยนี้อยู่ที่ประมาณ 17-18 ปีเป็นเบาหวานมาไม่เกิน 6 เดือนและมีการควบคุมระดับน้ำตาลและการใช้อินซูลที่คงที่มาประมาณ 1 เดือน จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำตาลสะสมในคนไข้กลุ่มนี้ควบคุมได้ดี Hemoglobin a1c น้อยกว่า 7
คนไข้ในการศึกษาวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มมีจำนวนคนไข้ทั้งหมด 29 คน คนไข้ 15 รายเป็นกลุ่มที่ได้รับ Mesenchymal Stem Cells ที่มาจากเนื้อเยื่อสายสะดือโดยได้รับ Mesenchymal Stem Cells ปริมาณประมาณ 15-30 ล้านเซลล์ 2 ครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมจึงได้รับเพียงน้ำเกลือให้ทางหลอดเลือดดำ
ทั้ง 2 กลุ่มหลังการรักษาให้ควบคุมปริมาณน้ำตาลในช่วงเช้าให้อยู่ระหว่าง 70-110 mg% และปริมาณน้ำตาลหลังมื้ออาหารน้อยกว่า 140 mg% ด้วยยาอินซูลิน หลังจากนั้นติดตามคนไข้ไป 2 ปีวัดระดับ C peptide ซึ่งเป็นโปรตีนที่แสดงถึงการทำงานของเซลล์ตับอ่อนว่าสามารถผลิตอินซูลินได้มากน้อยเพียงใด
ผลข้างเคียงของงานวิจัย ไม่พบผลข้างเคียงที่เกี่ยวกับข้องกับ Mesenchymal Stem Cells อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ไม่ได้ตรวจ Anti HLA Testing ซึ่งเป็นการตรวจปฏิกิริยาที่เกิดจากความไม่เท่ากันของเนื้อเยื่อ จะพบว่าหลังการรักษา
หลังติดตามไป 24 เดือนจะพบว่าระดับน้ำตาลทั้งก่อนและหลังมื้ออาหารของคนไข้ที่ได้รับ Mesenchymal Stem Cells นั้นมีระดับลดลงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้นโดยพบผลการรักษาเริ่มตั้งแต่ที่ 3 เดือนหลังได้รับ Stem Cells
ระดับน้ำตาลสะสม Hemoglobin a1c ก็ควบคุมได้ดีขึ้นตลอดการติดตามการรักษาที่ 2 ปีรวมถึงค่า C peptide แสดงให้เห็นว่าการกลับมาทำงานของตับอ่อนนั้นทำได้ดีขึ้นในกลุ่มที่ได้รับ Stem Cells
ระดับยาอินซูลินที่ใช้สะท้อนถึงการทำงานของเซลล์ตับอ่อนเช่นกัน พบว่าปริมาณยาอินซูลินที่ใช้มีปริมาณลดลงในคนไข้ที่ได้รับ Stem Cells ยาวนานไปจนถึง 24 เดือน
コメント